ประวัติ
ประเทศจีน เป็นแหล่งผลิตดั้งเดิมของใบชา เป็นดินแดนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งบนพื้นโลกที่ค้นพบ และใช้ประโยชน์จากใบชา ในสมัยโบราณ คนเริ่มเก็บรวบรวมใบชาป่ามาทำยา ภายหลังจึงทำเป็นเครื่องดื่ม แล้วค่อย ๆ ศึกษาการปลูกต้นชา ในสมัยราชวงศ์ ฉิน ถึง ราชวงศ์ ฮั่น การปลูกชาเริ่มกระทำตามแนว มณฑล เสฉวน ถึง มณฑล ยูนนาน ถึงสมัย ราชวงศ์ ถัง การปลูกชา ได้กระจายไปในมณฑลต่าง ๆ กว่า 10 มณฑล ตามลุ่มแม่น้ำ แยงซีเกียง ( ฉางเจียง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis
สารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
-สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระเป็นอนุมูลที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ในร่างกาย เป็นพิษต่อเซลล์ต่างๆ
-สารแทนนินมีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก
-สารแทนนินมีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก
-คาเฟอีนปริมาณต่ำ ประมาณ แก้วละ๓๐-๔๐มิลลิกรัมต่อแก้ว(ขึ้นกับความเข้มของชา)
-สารอื่นๆจำไม่ได้
คุณประโยชน์ของชาจีน
-ลดการดูดซึมของไขมันและธาตุเหล็ก
-เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
-เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
-ทำให้สดชื่นแจ่มใส
-มีการทดลองในหลอดทดลองพบการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเซลล์มะเร็งกระเพาอาหาร
-เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในตาข่ายหลอดเลือดฝอย
-มีสารอาหารอื่นๆ เช่น ฟลูออไรด์ เป็นต้น
-เพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย
-ฯลฯ
หมายเหตุ ไม่ควรใช้ในลักษณะยาเพื่อหวังผลต้านมะเร็ง เพราะเป็นเพียงงานวิจัยในหลอดทดลอง
โทษของชาเขียว
1. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ จะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
2. หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
3. ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือเต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชา ก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)2. หญิงมีครรภ์ ควรงดดื่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
4. คนที่เป็นโคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตู้นให้ผนังกระเพราะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาวะเป็นกรดมามากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์ เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร
5. การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรกินอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย
6. การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ
7. ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง
8. การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได
9. ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนิน ไม่ให้ออกฤทธิ์
ชามีหลายชนิด แบ่งตามการผลิต ได้๕ชนิด
2.ชาเขียว
3.ชาอูหลงหรือชากึ่งหมัก
4.ชาดำหรือชาแดงหรือชาหมัก๑๐๐%
5.ชาปรุงแต่ง
สารที่พบในใบชา
1.วิตามิน A - แคโรทีน ในใบชามีสารแคโรทีนอยู่หลายชนิด โดยมีเบต้าแคโรทีนอยู่มากที่สุดถึง 22 mg% แคโรทีนชนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ ในชามีสารตัวนี้อยู่มากกว่าแครอทและมะเขือเทศด้วยซ้ำ ชาแต่ละชนิดจะมีแคโรทีนมากน้อยแตกต่างกันไป แคโรทีนเป็นสารแอนตีออกซิเดนต์ที่รุ่นแรง สามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็ง
2.วิตามิน B1 - ไทอามีน วิตามินชนิดนี้จำเป็นสำหรับขบวนการเผาผลาญน้ำตาล ชาวเอเชียส่วนใหญ่ได้รับสารนี้จากข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก ในชาก็มีสารนี้อยู่อย่างอุดมในปริมาณสูง ตั้งแต่ 100 - 600 ไมโครกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม) ประโยชน์ต่อร่างกายคือช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมดื่มชาแล้วจึงมีความสดชื่น
3.วิตามิน B2 - ไรโบฟลาวีน วิตามินชนิดนี้จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ขบวนการแอนติบอดี (ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม) การหายใจและการเติบโตของเซลล์ วิตามินนี้ยังช่วยให้เนื้อเยื่อของร่างกายเช่น ผิวหนัง ผม และ เล็บให้สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบชามีสารนี้อยู่ระหว่าง 800 - 1400 ไมโครกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม) ดังนั้นการดื่มชาจึงช่วยให้ผิวพรรรณสดชื่น ป้องกันผิวเหี่ยวย่นและป้องกันเชื้อโรคได้อย่างดี
4.วิตามิน B3 - ไนอาซีน วิตามินชนิดนี้จำเป็นสำหรับการปลดปล่อยพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ขบวนการเมตาบอลิซึ่มของโปรตีน การสร้างฮอร์โมนหลายชนิด และช้วยสร้างเม็ดเลือดแดง มันยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งช่วยควบคุมเบาหวาน ชามีไนอาซีนในปริมาณสูงระหว่าง 400 - 600 ไมโครกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม)
5.วิตามิน C วิตามิน C มีความจำเป็นต่อการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นสารที่ยึดเหนี่ยวเซลล์ ในชาเขียวจะมีวิตามิน C มาก (250 มิลลิกรัมต่อใบชา 100 กรัม) แต่ชาดำและชาอูหลงกลับไม่ค่อยมีวิตามิน C ทั้งนี้เป็นเพราะขบวนการหมักทำให้วิตามิน C สลายไป วิตามิน C ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งและความชรา วิตามิน C ยังมีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสและแบคทีเรียซึ่งช่วยป้องกันหวัดได้เป็น
อย่างดี ส่วนคอลลาเจนช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใส
6.วิตามิน E - โทโคเฟอรอล วิตามินชนิดนี้เป็นแอนตีออกซิเดนต์เช่นกัน ชามีวิตามิน E ในปริมาณ 20 - 70 มิลลิกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม) วิตามิน E ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในไขมัน ป้องกันความชราและมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง
7.วิตามิน F - ฟลูออรีน ฟลูออรีนมีมากในพืชสกุล Camellia ทุกชนิด ซึ่งชามีฟลูออรีนมากถึง 40 - 1900 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ใบแก่จะมีฟลูออรีนมากกว่าหน่ออ่อน ฟลูออรีนช่วยเคลือบผิวของฟันซึ่งป้องกันเชื้อโรคได้และช่วยป้องกันฟันผุ การดื่มชาช่วยรักษาสุขภาพของปาก ทำให้ฟันแข็งแรง ดับกลิ่นปาก
8.วิตามิน P - ฟลาโวนอล ฟลาโวนอลช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังหลอดเลือดซึ่งช่วยต่อสู้กับภาวะความดันโลหิตสูง ในชามีวิตามิน P ในปริมาณสูงถึง 340 - 415 มิลลิกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม) ชาจึงช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจบางชนิด อัมพาต และอื่นๆ อีกมาก
9.วิตามิน U วิตามินชนิดนี้จะสร้างกลิ่นที่ประหลาดคล้ายๆกับสาหร่ายอบแห้ง ชาจะมีปริมาณสารนี้ 10 - 25 มิลลิกรัม (ต่อใบชา 100 กรัม) ประโยชน์ของมันคือช่วยต่อสู้กับอาการกระเพาะอักเสบ มันจะถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักในยารักษาระบบย่อยอาหาร
10.กรดอะมิโน - ทีอานีน (Theanine - Caffeine Counteraction) มีกรดอะมิโนมากกว่า 20 ชนิดที่อยู่ในชา มากกว่า 60% ของกรดอะมิโนจะประกอบด้วยทีอานีน ซึ่งจะมีอยู่ในเฉพาะชาเขียว ทั้งนี้เพราะขบวนการผลิตชาเขียวที่ใช้ไอน้ำอบจะไม่ทำลายสารที่มีคุณค่าเหล่านี้ ทีอานีนมีโครงสร้างคล้ายกับกลูตามีนและสร้างรสชาติที่ดีและให้ความหวานแก่ชาเขียว L-Theanine เป็นกรดอะมิโนที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งพบเฉพาะในต้นชาและในเห็ดบางชนิด L-Theanine จะกระตุ้นสมองให้สร้างคลื่นอัลฟาซึ่งเป็นสภาวะที่ผ่อนคลายแต่มีสติ มันจะสร้างความสงบให้ร่างกายโดยไม่เกิดอาการง่วง ยังมีกรดอะมิโนที่มีความสำคัญซึ่งพบในใบชาสดและมีมากเป็นพิเศษที่ยอดอ่อนของใบชา กรดอะมิโนที่สำคัญหลายชนิดจะลดลงในใบแก่ ทีอานีนจะให้รสหวานแก่ชา และสร้างความสงบผ่อนคลายให้แก่ร่างกายซึ่งมีฤทธิ์ตรงข้ามกับคาเฟอีนที่กระตุ้น ทีอานีนยังป้องกันเซลล์ประสาทในสมอง ช่วยยืดอายุของเซลล์เหล่านั้น
11.คาเทชิน คาเทชินเป็นสารประเภทแทนนินชนิดฟลาโวนอลที่มีอยู่มากโดยเฉพาะในชาเขียว (สำหรับชาดำสารตัวนี้จะลดลงเนื่องจากการออกซิไดซ์ในการตากและหมัก) คาเทชินมีฤทธิ์ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส โดยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเกาะผนังเซลล์ติด คาเทชินยังสามารถทำลายพิษที่แบคทีเรียสร้างขึ้น และยังกำจัดพวกโลหะหนักที่มีพิษเช่นตะกั่ว ปรอท โครเมียน แคดเมียมได้ด้วย
12.กรดอะมิโนบิวไทริก กรดอะมิโนบิวไทริก (GABA) จะถูกสร้างถ้าในขบวนการผลิตใบชาถูกปล่อยไม่ให้โดนออกซิเจน ขบวนการผลิตชาดิบทั่วไปจะสร้าง GABA ซึ่งมีฤทธิ์ระงับอาการความดันเลือดสูง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=201182